Online Marketing
Online Marketing

SEO Versus Adwords กลยุทธ์ไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจคุณ !!!

หากพูดถึงธุรกิจบนเว็บไซต์แล้วการเพิ่มยอดผู้เข้าชมมักเป็นเป้าหมายอันดับต้นๆ อย่างแน่นอน เพราะการที่จำนวนผู้เข้าชมมากก็ยิ่งมีจำนวนผู้เข้าชมมาก ยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะขายสินค้าและบริการออกไปได้มากยิ่งขึ้น และยังส่งผลให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักมากขึ้นไปอีกด้วย  เป็นเรื่องธรรมดาที่นักการตลาดจะสรรหาวิธีที่จะตอบโจทย์การเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมให้มากขึ้นด้วยหลากหลายวิธี ซึ่งวิธีที่เป็นที่นิยมมากๆๆในปัจจุบันก็คือ Adwords เละ SEO (Search Engine Optimize)

SEO คืออะไร ?

SEO หรือ Search Engine Optimization นั้นเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งในการทำให้เว็บไซต์ของเรานั่นขึ้นไปปรากฏอยู่ในอันดับต้นๆ เวลาที่มีการค้นหาด้วย Keyword ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์หรือธุรกิจของเรา ผ่านทางเว็บไซต์ Search Engine ต่างๆ อย่าง Google , Bing , Yahoo และอื่นๆ  ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น เมื่อเรากดค้นหาด้วย keyword ว่า “เบอร์เกอร์” เว็บไซต์ที่จะปรากฏขึ้นในผลการค้นหาแรกๆ อาจจะเป็น McDonald , Subway , BurgerKing เป็นต้น โดยไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการทำแต่อย่างใด ถ้าหากเว็บไซต์สามารถขึ้นไปติดอันดับต้นๆ ของ Search Engine ได้แล้ว ก็จะเป็นที่น่าสนใจแก่ผู้ที่ Search ด้วย Keyword เข้ามาเจอมากขึ้น แต่โอกาสก็ลงได้ขึ้นได้ ถ้าหากมีเว็บไซต์ที่ทำ SEO ได้ดีกว่าแซงหน้าไป หรือ Search Engine มีการเปลี่ยน Algorithm หรือวิธีการคิดคำนวณและประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ในการ Search จนต้องหาวิธีใหม่ๆตาม เพื่อให้เว็บไซต์กลับขึ้นไปอยู่ในอันดับต้นๆอีก

Adwords คืออะไร ?

Adwords ก็คือการซื้อพื้นที่โฆษณาของ Search Engine นั้นๆ เพื่อให้เว็บไซต์ของเรานั้นอยู่ในตำแหน่งที่เป็นจุดสนใจของผู้ที่ใช้งาน Search Engine ซึ่งตำแหน่งอาจจะอยู่ที่อันดับแรกสุด หรือในส่วนอื่นๆ ที่สะดุดตาก็ได้ เพื่อเพิ่มยอดของผู้ใช้ให้เข้ามาสู่เว็บไซต์ของเรา  เมื่อ Keyword ในการ search ของพวกเขาตรงกับเนื้อหาที่เรามีในเว็บ รูปแบบของ Adwords นี้ก็จะมีค่าใช้จ่ายก็ต่อเมื่อมีคนคลิกเข้าเว็บไซต์เราตามจำนวนครั้งเท่านั่น  แต่ถ้าหากไม่มีการคลิกเข้ามาก็ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด โดยอัตราค่าบริการนั้นก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนการคลิกอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเว็บไซต์บน Search Engine และ Keyword ในการค้นหาอีกด้วย ถ้าเป็น keyword ที่เป็นที่นิยม และมีอัตราการค้นหาที่สูงอย่างคำว่า Computer , Football นั้นก็จะมีราคาที่สูงกว่า Keyword ที่คนไม่ค่อยค้นหาเช่น Horseshoes เป็นต้น

image00

จากรูปภาพประกอบข้างต้นก็จะเห็นความแตกต่างในด้านของพื้นที่ที่มาจากการทำ SEO แล้วติดอันดับต้นๆ ด้วยตัวเอง กับการซื้อโฆษณา Adwords ที่แยกอย่างชัดเจนว่าเป็นพื้นที่โฆษณาของ Search Engine อย่าง Google ซึ่งพอถึงในส่วนนี้ทุกคนก็คงจะได้ยินคำถามที่ว่า ถ้าหาก Adwords นั้นเป็นวิธีที่ง่ายกว่าและยังมีพื้นที่ที่ผู้คนเห็นได้ชัดแม้ว่าเราจะเป็นเว็บไซต์ใหม่ที่มีโอกาสติดอันดับต้นๆๆ จากการทำ SEO ได้ยาก  แต่ทำไมเรายังคงต้องใช้ SEO กันอยู่อีกละ ????? คำตอบที่ชัดเจนที่สุดก็คือ การทำ Adwords นั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมากเมื่อเทียบกับการทำ SEO อีกทั้งยังมีระยะเวลากำหนดที่ค่อนข้างชัดเจน เพราะหากเมื่อใดที่เงินทุนในส่วนนี้หมดไปเว็บไซต์ของเราก็จะหายไปจากอันดับต้นๆ ในหน้าแรก ซึ่งต่างกับ SEO ที่จะยังคงอยู่ในอีกระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นลองมาดูกันว่า การที่จะเลือกใช้ทั้ง 2 วิธีนี้ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

  1. เงินทุน

อันดับแรกที่ต้องคำนึงถึงก็ต้องเป็นเรื่องเงินทุนในการทำธุรกิจก่อน เพราะทั้ง SEO และ Adwords นั้นมีค่าใช้จ่ายที่ต่างกันค่อนข้างชัดเจน  เพราะว่า SEO นั้นไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ส่วนของ Adwords มีค่าใช้จ่ายที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นหาก ธุรกิจอยู่ในช่วงที่กำลังเริ่มต้นแล้ว เราอาจทดลองใช้ Adwords ก่อนสักช่วงเวลาหนึ่งก็ได้ แต่มันก็ขึ้นกับการกำหนดต้นทุนเอาไว้ด้วยว่าในแต่ละวันจะลงทุนกับ Adwords สักช่วงหนึ่งก่อนก็ได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องกำหนดต้นทุนเอาไว้ด้วยว่าในแต่ละวันจะลงเงินกับ Adwords ได้ไม่เกินเท่าไร

เพราะสำหรับเว็บไซต์ใหม่ๆ นั้นยากที่จะทำให้ขึ้นไปติดอันดับต้นๆ แข่งกับเว็บที่อยู่มานานในระยะเวลาอันสั้นได้ การใช้ Adwords เข้ามาช่วยก็ทำให้เว็บไซต์ของเรานั้นมีฐานผู้เข้าชมในช่วงเริ่มต้นได้ ถ้าหากงบลงทุนน้อยและไม่อยากนำมาลงทุนในส่วนนี้ก็ควรศึกษาการทำ SEO ของแต่ละ Search Engine ให้ดีว่ามีรูปแบบอย่างไร เพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถขึ้นไปติดอันดับต้นๆ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช่จ่าย เพราะหากคุณไม่สามารถทำด้วยตนเองได้สุดท้ายก็จะเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้เชี่ยวชาญมาในราคาที่ใกล้เคียงกันกับ Adwords

  1. ระยะเวลา

ระยะเวลาของการติดอันดับก็เป็นส่วนที่เราควรต้องคำนึงถึง เพราะจริงอยู่ที่ Adwords นั้นจะทำให้เว็บไซต์ของเรา ติดในอันดับต้นๆ โดยไม่มีเงื่อนไขเรื่อง Algorithm ของ Search Engine ที่เปลี่ยนแปลง แต่การที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในทุกๆ เดือนไปกับการซื้อโฆษณานั้นอาจไม่คุ้มค่าเสมอไปกับหากเราไม่ใช่เว็บไซต์ที่หากำไรได้มากมายนัก ต่างกันกับ SEO ที่แม้ว่าจะใช้เวลาเริ่มต้นนานแต่หากสำเร็จขึ้นมาแล้วเว็บไซต์ก็จะอยู่ในอันดับต้นๆ ได้อยู่หลายปี  ถ้าหาก Search Engine นั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรและไม่ค่อยมีคู่แข่งเยอะก็นับว่าอาจเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากกว่า

ทั้งนี้ก็อยากให้วิเคราะห์เว็บไซต์ของเราเองก่อนว่าจะหวังผลในระยะยาวหือสั้น เพราะหากเว็บไซต์นั้นหวังผลตอบแทนในระยะสั่น อย่างเช่น ธุรกิจต้องการที่จะโปรโมทกิจกรรมหรือแคมเปญต่างๆ ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้นก็อาจจะเลือกใช้บริการ Adwords สัก 1-2 เดือน เพื่อให้เกิดกระแสและเป็นที่สนใจของผู้คนที่เข้ามาเห็น แต่หากหวังในระยะเวลาที่จะให้มีผู้คนเข้าเว็บไซต์ของเราอย่างสม่ำเสมออยู่ตลอดแล้วนั้น SEO อาจเป็นคำตอบที่ดีกว่าได้

  1. ความคุ้มค่า

เนื่องด้วย Adwords มีปัจจัยค่าใช้จ่ายที่หลากหลาย ทำให้ Keyword ในการค้นหานั้นก็เป็นตัวแปรอีกอย่างหนึ่งที่มีผลต่ออัตราค่าบริการเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากเราเลือกใช้ Keyword ที่เป็นที่นิยมแล้วก็จะมีราคาสูงกว่ามากเลยทีเดียว เช่น ราคา Keyword คำว่า “Car insurance online” นั้นเมื่อใช้เครื่องมือ Traffic Estimator ของ Google จะพบว่าค่าเฉลี่ยของ CPC (Cost per click) หรือค่าใช้จ่ายต่อการคลิกก็จะพบว่ามีราคาอยู่ที่ 2.76 $ แต่หากเปลี่ยน keyword ไปเป็นคำว่า “Auto Insurance” แล้วนั่น ราคาเฉลี่ยก็จะขึ้นไปสูงถึง 28.55 $ เลยทีเดียว ซึ่งราคาที่สูงขนาดนี้อาจทำให้ผู้คนเข้ามาเว็บไซต์ของเราได้มากขึ้นก็จริง แต่ก็ต้องมานั่งคำนวณความคุ้มค่าต่อไปอีกว่าด้วยต้นทุนที่สูงขนาดนี้จะได้รับผลตอบแทนคุ้มค่ามากน้อยเพียงใด เพราะ SEO เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย

จากเนื้อหาข้างต้น จะเห็นได้ว่าทั้ง SEO และ Adwords ต่างก็เป็นเครื่องมือที่มีทั้งข้อเสียและข้อดีแตกต่างกันออกไป คงตอบได้ยากที่จะบอกว่าแบบไหนจะสร้างความคุ้มค่าได้มากกว่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของธุรกิจที่จะเลือกนำไปใช้ว่าวิธีไหนจะให้ผลตอบแทนได้มากกว่า ซึ่งจริงๆ แล้วเราก็สามารถทดลองทำได้ทั้งสองอย่าง พร้อมตั้งเป้าหมาย และวัดค่าออกมาให้ชัดเจนเพื่อนำมาเปรียบเทียบดูว่าควรเลือกลงทุนกับวิธีไหน หรือจะทำควบคู่กันไปก็ยอมได้

ทีมงาน
MakeWebEasy