SEO
SEO

SEO Trends 2021 เช็คด่วน! ปัจจัยในการทำอันดับเว็บไซต์ปีนี้ มีอะไรบ้าง?

ถ้าคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ทำธุรกิจออนไลน์ และมีเว็บไซต์ธุรกิจเป็นของตัวเอง การทำ SEO เป็นเทคนิคการตลาดออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด หากเว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google Search ได้แล้วล่ะก็ แน่นอนว่าธุรกิจของคุณจะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว!

เรามาดูกันว่าในปี 2021 นี้ นักทำ SEO มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการทำ SEO อย่างไรบ้าง ให้เว็บไซต์ตอบโจทย์อัลกอริทึมของ Google มากที่สุด

ผู้ใช้งาน Google 70-80% เลือกชมเว็บไซต์ที่ไม่ใช่โฆษณา

 

1. Search Intent เข้าใจความต้องการของผู้ค้นหา

ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี ผมยังคงพูดถึงเรื่องเดิมเสมอนั่นคือ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้งาน โดยสิ่งที่เราต้องหันมาโฟกัสมากขึ้นไม่ใช่แค่การทำ SEO ด้วย Keyword ที่มี Search Volume สูงๆ เพียงอย่างเดียว แต่คุณต้องเข้าใจถึงความต้องการของ User ด้วย

ผมขอยกตัวอย่างเป็น ธุรกิจนำเข้าเก้าอี้สร้างกล้ามเนื้อ เป็นสินค้าที่ตอบโจทย์คนที่อยากมีซิกแพ็ค ซึ่ง Keyword ที่เหมาะกับสินค้านี้คงนี้ไม่พ้น “สร้างกล้ามเนื้อ” ที่มี Search Volume สูง เพื่อให้คนที่อยากมีกล้ามเนื้อสวยๆ เสิร์ชคำนี้แล้วเจอสินค้าของเรา แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงๆ เมื่อคุณใช้คำนี้ในหน้าสินค้าคือ เว็บไซต์หน้านี้จะไม่ติดอันดับ

เพราะ… Google รู้ว่าคนที่เสิร์ช Keyword “สร้างกล้ามเนื้อ” ส่วนใหญ่มีความต้องการ หรือสนใจในเรื่องของการออกกำลังกาย ต้องการหาเทคนิค หรือบทความเพื่อเรียนรู้ ไม่ใช่สินค้า นั่นหมายความว่า หากคุณต้องการที่จะติดอันดับใน Keyword คุณต้องทำเว็บไซต์หน้านี้ในรูปแบบของ Blog หรือ บทความให้ความรู้มากกว่า และในหน้าสินค้าอาจเปลี่ยนไปโฟกัส Keyword ที่ Google เลือกจัดอันในประเภทหน้าสินค้ามากกว่า เช่น “เครื่องสร้างกล้ามเนื้อ” แทน

 

2.โฟกัสการทำเว็บไซต์บน “มือถือ” เป็นหลัก

ความจริงแล้ว Google เริ่มการจัดอันดับเว็บไซต์บนมือถืออย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 2019 เพราะปัจจุบันมีผู้ใช้ Google Search บนมือถือมากถึง 63% และโอกาสในการคลิกเข้าชมเว็บไซต์ (CTR) อยู่ที่ 32% ซึ่งเมื่อเทียบกับหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้วจะอยู่ที่ 25% เห็นได้ชัดว่ามือถือมาแรงกว่าทุกทาง

แล้วเว็บไซต์ของคุณใช้งานได้ดีบนมือถือแล้วหรือยัง?

คุณสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์บนมือถือได้ด้วยเครื่องมือสอบ Google’s free mobile-friendly test หรือดูได้ที่รายงาน Mobile Usability ใน Google Search Console

 

3.Core Web Vitals ตัวชี้วัดประสบการณ์บนหน้าเว็บไซต์

ในปี 2020 ที่ผ่านมา Google ได้มีการเปิดตัว Core Web Vitals ซึ่งเป็น เมตริกที่จะใช้ในการวัดประสบการณ์การใช้งานของ User โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ค่าด้วยกันคือ

  1. Largest Contentful Paint (LCP) : ความเร็วในการดาวโหลดบนหน้าเว็บไซต์
  2. First Input Delay (FID) : ความเร็วในการตอบสนองเมื่อคลิกบนหน้าเว็บไซต์
  3. Cumulative Layout Shift (CLS) : ความเสถียรของดีไซน์บนเว็บไซต์

 

Google ได้มีออกมาประกาศเองเลยว่า Core Web Vitals จะเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ โดยจะเริ่มใช้ในเดือน พฤษภาคม 2021 – developers.google.com 

เราสามารถตรวจสอบ Core Web Vitals เองได้ที่ PageSpeed Insight ของ Google

โดยค่ามาตรฐานของ

  • LCP อยู่ที่ 2.5 sec – 4.0 sec
  • FID อยู่ที่ 100 ms – 300 ms
  • CLS อยู่ที่ 0.1 – 0.25

 

4.Long-Form Content ได้เปรียบ!

ยิ่งยาวยิ่งดี! ในปีที่ผ่านมามีผลสำรวจจากหลายๆ ที่พบว่า การเขียนบทความตั้งแต่ 2000-3000 คำ ขึ้นไปช่วยสร้าง Traffic ให้กับเว็บไซต์มาขึ้นถึง 3 เท่า (แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมว่ามันก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเรื่องที่เขียนด้วยแหล่ะนะ)

ยังไงการเขียนบทความคุณภาพนั้นสำคัญที่สุด ใช้ความเชี่ยวชาญเขียนให้เขียนบทความที่มีประโยชน์ เข้าถึงผู้อ่านได้ง่ายๆ สร้างประสบการณ์ที่ดี เพื่อให้บทความของเราถูกส่งต่อไปเรื่อยๆ

หากคุณอยากลองเขียนคอนเทนต์ให้ลึก และระเอียดมากยิ่งขึ้นลองแตกหัวข้อที่ต้องการจะเขียนในเรื่องนั้นออกมาก่อนเป็นข้อๆ ว่าเราจะพูดเรื่องอะไรบ้าง เป็นหัวข้อหลัก หัวข้อรอง เหมือนกับที่ผมเขียนคอนเทนต์นี้ ตัวอย่างเช่น

  • คือหัวข้อหลักคือ SEO Trends 2021
  • หัวข้อรองคือ เทรนด์ต่างๆ ที่ผมกำลังอธิบาย

แน่นอนว่าอยู่ลืมใช้ Heading Tag เพื่อกำหนดหัวข้อด้วย ยิ่งคุณแตกประเด็นที่จะเขียนได้มากเท่าไหร่ บทความของคุณก็จะยิ่งลึก และดูเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าเนื้อหายาวขึ้นด้วย

สุดท้ายก็อย่างลืมใส่ Internal Link กับ External Link เพื่อให้บทความของเรามีลิงก์อ้างอิงบทความอื่นในเว็บไซต์ กับบทความนอกเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ ใช้ครบทุกเทคนิค SEO

 

5.อันดับสูงขึ้นได้ด้วยหลัก E-A-T

Google ได้ออกมาพูดและย้ำเสมอว่า เนื้อหามีความสำคัญอย่างมากต่อการจัดอันดับ และที่สำคัญกว่านั้นคือ เนื้อหา ต้องมีคุณภาพ โดยอ้างอิงจากหลักการ E-A-T

Expertise ความเชี่ยวชาญในการเขียนบทความ

ความเชี่ยวชาญในที่จะประกอบไปด้วยหลายส่วนต่างๆ เช่น การเลือกใช่ Keyword, การวางโครงสร้างบทความ ปริมาณเนื้อหา การใช้รูปภาพประกอบต่างๆ ความน่าสนใจ และทำให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อหาได้ง่าย

Authoritativeness อำนาจ หรือชื่อเสียงของแบรนด์ หรือผู้เขียน

การพิจารณา Authority นั้นจะมาจาก การพูดถึง แบรนด์ หรือขนที่เขียนบทความ บทความที่ถูกแชร์ออกไปภายนอก หรือ Social media สามารถสร้าง Authority ให้กับผู้เขียนได้ รวมไปถึงการที่มีคนนำชื่อเว็บไซต์ หรือผู้เขียนในการค้นหาก็สามารถสร้าง Authority ได้เช่นกัน

ตัวอย่างเช่น เมื่อคนเสิร์ชชื่อ Kim Karun ใน Google จำนวนมาก Authority ก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วยนั่นเอง

Trustworthiness ความน่าเชื่อถือของบทความ

ความน่าเชื่อถือของบทความ ในที่นี้มากจากการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาจากเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถือ อาจเป็นองค์กรใหญ่ๆ หน่วยงาน หรือสถานศึกษา ซึ่งนามสกุลที่ต่อท้ายโดเมนอย่าง .or.th / .go.th ก็มีผลกับความน่าเชื่อถือด้วยเช่นกัน

 

6.เพิ่มประสิทธิภาพให้ “รูปภาพ” บนเว็บไซต์

ในปีที่ผ่านมา Google ได้มีการพัฒนาการค้นหารูปภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาเราอาจมองว่ามันเป็นแค่การค้นหาเพื่อดูภาพ แต่ในอนาคตเราสามารถคลิกภาพเพื่อหาข้อมูล รวมถึงถึงการซื้อสินค้าได้อีกด้วย เรื่องนี้ Google คอนเฟิร์ม

หากรูปภาพบทความไซต์ของคุณยัง ทำแค่ลงไปก่อนเพื่อให้มันมี ลองหันกลับไปโฟกัสจริงๆ ได้แล้ว เลือกใช้ภาพที่มีความคมชัด เกี่ยวของกับเนื้อหา รวมถึงชื่อไฟล์ และคำอธิบายรูปภาพ (Alt Text) ก็สำคัญเช่นกันเพราะมันคือส่วนหนึ่งของการทำ SEO ตั้งชื่อมั่วๆ ต่อไปไม่ได้แล้วนะ

 

Let’s Start

เทรนด์ในการทำ SEO เรียกว่าเปลี่ยนไปทุกปีจริงๆ ทำให้คนทำเว็บไซต์ต้องคอยอัพเดตเทรนด์อยู่ตลอดเวลา เพราะเมื่อคุณมองข้ามไปเมื่อไหร่ คู่แข่งก็เพราะที่จะกระโดดขึ้นมาแซงหน้าคุณได้ทุกเมื่อ และนี้คือเทรนด์สำหรับปี 2021 ลองปรับเว็บไซต์ของคุณให้ได้ตามเทรนด์เหล่านี้ และดับเว็บไซต์ให้ขึ้นอยู่บนหน้าแรก Google กันเถอะ!