เพิ่มผู้ดูแลเว็บไซต์ด้วย User Permission
Feature Update
Feature Update

จัดการผู้ดูแลเว็บไซต์ด้วยระบบ User Permission

สำหรับธุรกิจที่กำลังเติบโตขึ้น แน่นอนว่าการดูแลเว็บไซต์คนเดียวก็คงจะไม่เพียงพอ ต้องมีคนเข้ามาช่วยดูแลเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการจัดการสต็อกสินค้า, ดูแลในส่วนของการขาย รวมไปถึงการจัดการดีไซน์เว็บไซต์ งานแต่ละอย่างที่ต้องทำก็แตกต่างกันไป

แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราให้คนเข้ามาจัดการเว็บไซต์ของเราพร้อมๆ กัน?

คำตอบก็คือ “เว็บพัง” ภาพในเว็บไซต์จะเด้ง ไฟล์จะหาย ข้อมูลจะผิดพลาด แถมยังไม่รู้ด้วยว่าใครที่เป็นคนทำ..

จะดีกว่ามั้ย ? ถ้ามีระบบ User permission เข้ามาช่วยจัดการบทบาท และกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงของแต่ละบุคคล ช่วยให้ข้อมูลในเว็บไซต์นั้นถูกจัดการตามหน้าที่ และเข้าถึงได้ตามสิทธิ์

 

เรามาดูกันว่าเว็บไซต์ที่มี และ ไม่มีระบบ User Permission ต่างกันยังไง ?

Website A ไม่มีระบบจัดการ User Permission

ผลที่เกิดขึ้นคือ เมื่อมีพนักงาน 2 คน ล็อกอินเข้ามาแก้ไขเว็บไซต์ด้วยบัญชีเดียวกันพร้อมกัน ต่างคนต่างแก้ไขในสิ่งที่ตัวเองต้องการ คนนึงเพิ่มรูป อีกคนนึงเผลอไปลบรูป ปรับข้อความ แก้ไขข้อมูลสินค้า หรือเปลี่ยนข้อมูลสำคัญเช่น บัญชีรับเงิน

คุณก็ไม่สามารถรู้ด้วยว่าใครเป็นคนทำเพราะพวกเขาล็อกอินในบัญชีเดียวกัน

 

Website B มาพร้อมกับระบบจัดการ User Permission

มีพนักงาน 2 คนใช้บัญชีของตัวเอง ล็อกอินเข้าไปแก้ไขเว็บไซต์พร้อมกันเหมือนเว็บไซต์ A แต่! ทั้ง 2 คนแก้ไขได้เฉพาะสิทธิ์ที่ตัวเองเข้าถึงได้เท่านั้น ไม่สามารถไปแก้ไขส่วนอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับบทบาทของตัวเองได้ ต่างคนต่างใช้งานเว็บไซต์ในบทบาทของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องคอยระแวงว่าเว็บไซต์จะพัง

และเมื่อเว็บไซต์เกิดความผิดพลาด คุณก็สามารถตรวจสอบได้ว่าใครเป็นคนทำ

 

การใช้งานฟีเจอร์ User Permission ไม่ได้ยุ่งยากเลย แค่เข้าไปกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงของแต่ละคนไว้ แล้วกดส่งคำเชิญไปให้คนนั้น แค่นี้เว็บไซต์ของเราก็จะมีมาช่วยดูแล ทำให้คุณมีเวลาไปบริหารส่วนต่างๆ ในธุรกิจมากขึ้นแล้ว

แค่นี้เว็บไซต์ของเราก็จะมีมาช่วยดูแล ให้เรามีเวลาบริการ หรือวางแผนต่อยอดให้ธุรกิจได้ใครสนใจฟีเจอร์ User Permission ดูวิธีการใช้งานได้ที่นี่เลยจ้าา วิธีใช้งาน User Permission