9 Tips เขียนบทความให้ติดอันดับ Google ด้วยเทคนิค SEO
บทความในเว็บไซต์ของคุณ มีคนอ่านมากแค่ไหน? เชื่อหรือไม่ว่าการ เขียนบทความ ที่มีคุณภาพ เมื่อติดอันดับบน Google จะสามารถเพิ่มจำนวนผู้ชมเว็บไซต์ และขยายฐานลูกค้าให้มากขึ้นได้อีกด้วย ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับทำการตลาดออนไลน์ที่ใช้งบการตลาดน้อยที่สุด(ถ้าไม่จ้างคนเขียน)
เพราะ Google เป็นช่องทางที่นักอ่านจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงบทความของคุณได้ดีที่สุด หากบทความของคุณติดอันดับบน Google ก็จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และบทความนี้ก็ได้บอกวิธีการเขียนคอนเทนต์ให้ติดอันดับ Google ไว้หมดแล้ว เรียนรู้ และเริ่มลงมือทำกันได้เลย!
1 วิเคราะห์ Keyword
สำหรับการ เขียนบทความ Keyword ที่เราเลือก ไม่จำเป็นต้องใช้คำเดียวกับหน้าเว็บไซต์หลักของเราเสมอไป แต่ควรเลือก Keyword ที่เหมาะสมกับบทความที่เราจะเขียนมากกว่า เน้นไปที่การสร้างคุณภาพให้กับบทความ เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับการค้นหาในหลายๆ Keyword
เพราะปัจจุบันอัลกอลิทึมของ Google นั้นฉลาดมากขึ้นเรื่อยๆ สามารถเรียนรู้ได้ว่า บทความที่เราเขียนนั้นมีความเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น
MakeWebEasy.com ใช้ Keyword “ทำเว็บ” ในหน้า Home Page
แต่เลือก Keyword “SEO คือ” ในการ เขียนบทความ ซึ่งเนื้อหาก็จะพูดถึงเรื่องการทำบทความบนเว็บไซต์
หากเว็บไซต์ของคุณเป็นธุรกิจค้าขาย หรือร้านค้าออนไลน์ อย่างเช่น เสื้อผ้าแฟชั่นเด็ก คุณก็อาจเขียนบทความที่เกี่ยวกับ วิธีการเลือกเนื้อผ้าที่เหมาะสมกับลูก หรือเทคนิคการดูแลเสื้อผ้าเด็ก
แต่ใช่ว่า Keyword ที่เราคิดขึ้นมาเองจะใช้ได้เสมอไป Keyword ที่เลือกมาเขียนบทความนั้น ต้องมีปริมาณการค้นหาด้วย (Search Volume)
วิธีดูปริมาณการค้นหาของ Keyword (Search Volume)
สำหรับวิธีการดูปริมาณ Keyword สามารถทำได้หลายวิธี แต่ผมขอแนะนำวิธีที่ผมใช้ เพราะมันง่าย และที่สำคัญคือ เครื่องมือตัวนี้ FREE ครับ
Ubersuggest เครื่องมือช่วยทำ SEO ที่จะช่วยให้คุณสามารถดู Search Volume ได้อย่างง่ายดาย
- ขั้นแรกให้คุณไปที่ Ubersuggest (จิ้มได้เลย)
- ให้เราใส่ Keyword ที่ต้องการดู Search Volume ลงไป และช่องถัดมาให้เลือกเป็น Thai / Thailand แล้วกด Search
- หลังจากนั้นระบบก็จะแสดง Search Volume ของ Keyword นี้ให้เราทราบ รวมถึงเทรนด์การค้นหาของ Keyword นี้ย้อนหลัง 1 ปี
- หากคุณเลื่อนลงมาด้านล่างก็จะพบกับ Keyword Ideas ส่วนที่จะช่วยแนะนำ Keyword ที่น่าสนใจ เพื่อนำไปต่อยอด หรือ เขียนบทความ ใหม่ๆ ได้
2 ตั้งหัวข้อสำหรับ เขียนบทความ
สำหรับการตั้งหัวข้อบทความ หลายคนมักจะมีไอเดียตั้งต้นมาก่อนแล้วว่า อยากจะพูด หรือเขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร สิ่งที่เราต้องเพิ่มเข้าไปก็คือ Keyword ที่เราได้มานั่นเอง พร้อมกับเพิ่มเทคนิคที่ทำให้หัวข้อบทความดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้นเช่นการขึ้นหัวข้อด้วย ปัญหา, คำถาม, ตัวเลข หรือ Call to action
ตัวอย่างการตั้งหัวข้อบทความ
- SEO คืออะไร? อยากให้เว็บไซต์ติดอันดับบน Google ต้องรู้
- 5 เทคนิค ทำโฆษณา Google Ads ด้วยต้นทุน “นิดเดียว”
- ฝ่าวิกฤต COVID-19 เจ้าของธุรกิจควรรับมืออย่างไร
- 9 Tips เขียนบทความ ให้ติดอับ Google ด้วยเทคนิค SEO
**คำที่เป็นตัวหนาคือ Keyword ที่ใช้ในบทความนั้น**
3 วางโครงสร้างบทความ
การวางโครงสร้างบทความจะช่วยให้เราจับประเด็นที่จะเขียน และเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น บทความนี้พูดถึงเรื่องอะไรบ้าง เอาเนื้อหาไหนขึ้นก่อน โดยตั้งชื่อของหัวข้อหลัก และหัวข้อรองให้ชัดเจน การวางโครงสร้างบทความให้ชัดเจนยังช่วยให้ผู้ที่เข้ามาอ่านบทความ สามารถอ่านได้ง่ายยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของการวางโครงสร้างบทความยังไม่หมดเพียงเท่านี้ หลังจากที่เราเขียนคอนเทนต์เสร็จแล้วให้เรากลับมาใส่ Heading Tag ให้กับหัวข้อหลัก และหัวข้อรองที่เรากำหนดเอาไว้
การใส่ Heading Tag ยังช่วยให้บทความของเรารองรับการแสดงผลบน Zero Position ช่วยให้บทความของคุณมีโอกาสที่คนจะคลิกเข้ามาดูมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลสำรวจจาก searchengineland พบว่า เว็บไซต์ที่ติดอันดับบน Zero Position จะเพิ่มโอกาสในการคลิกหน้าเพจนั้นขึ้นอีก 8.6%
4 ลงมือ เขียนบทความ
เมื่อเราวางโครงสร้างบทความเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการลงมือเขียนนั่นเอง
การเขียนบทความในช่วงแรกให้เขียนไปตามอารมณ์ของเราก่อน โดยไม่ต้องกลัวว่าจะเขียนผิด จะใช้ภาษาแบบไหนก็ได้ เพื่อให้บทความที่เขียนมีความไหลลื่น และเป็นธรรมชาติมากที่สุด ตามลำดับโครงสร้างบทความที่เราวางเอาไว้
เคล็ดลับสำหรับการเขียนเนื้อหา
- บทความที่ดีควรเขียนไม่ต่ำกว่า 500 คำ
บทความที่ผมเขียน จำนวนคำจะเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000 คำ ซึ่งหากเราวางโครงสร้างบทความไว้มากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งเขียนบทความได้ลึกยิ่งขึ้น
- แทรก Keyword ในส่วนต่างๆ ก็บทความ
ย่อหน้าแรก, หัวข้อหลัก หัวข้อรอง, (ไม่จำเป็นต้องใส่ทุกหัวข้อ) และตามส่วนต่างๆ ของเนื้อหา
โดยการแทรก keyword ในเนื้อหา ความเหมาะสมจะอยู่ที่ 5% ของจำนวนคำทั้งหมดในบทความ สามารถใส่มากกว่านั้นได้ แต่ไม่ควรมากจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้ Bot ของ Google มองว่าเป็นการสแปม Keyword
5 ใส่ภาพประกอบ
ผลสำรวจจาก skyword พบว่า บทความที่มีรูปภาพ(ที่เกี่ยวข้องกับบทความ) จะมีคนดูมากกว่าบทความที่ไม่มีรูปมากถึง 94%
แต่มีหลายคนที่ยังไม่เห็นความสำคัญ หรือมองข้ามการใส่ภาพประกอบในบทความไปอยู่มาก ซึ่งความจริงแล้วการใส่ภาพประกอบเป็นอีกส่วนที่ช่วยในเรื่องของการทำ SEO อีกด้วย อะไรก็ตามที่เป็นการอำนวยสะดวก และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ชมเว็บไซต์ Google ก็ยิ่งชอบ
นอกจากนี้เรายังสามารถแทรก Keyword เข้าไปในรูปภาพได้อีกด้วย โดยการใส่คำอธิบายให้กับรูปภาพ หรือที่หลายคนเรียกว่าข้อความ Alt Text
6 Internal Link & External Link
เพิ่มพลังให้บทความด้วย Internal Link (ลิงก์ภายใน) และ External Link (ลิงก์ภายนอก)
Internal Link หรือลิงก์ภายใน มีส่วนช่วยในการสร้าง Traffic ภายในเว็บไซต์ เมื่อเราทำลิงก์เชื่อมโยงไปหาบทความ หรือหน้าเว็บไซต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับบทความนั้น Google ก็จะมองว่าเว็บไซต์ของเรามีความเชื่อมโยงกัน
มีการคลิกที่ Internal Link เพื่อไปอ่านอีกบทความหนึ่งในเว็บไซต์ Google ก็จะมองว่า Traffic ที่เกิดขึ้นภายในนั้น มีคุณภาพ
External Link หรือลิงก์ภายนอก หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมเราต้องทำลิงก์ออกไปข้างนอกด้วยล่ะ?
ความจริงแล้ว google นั้นมองว่าบทความที่มีคุณภาพ จะดึงดูดกันและกัน ซึ่งหมายความว่า หากบทความของเรามีการอ้างอิง หรือใช้สถิติจากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ และน่าเชื่อถือ Google ก็จะมองว่าเว็บไซต์ของเรามีคุณภาพไปด้วย
ซึ่งถ้าคุณสังเกตดีๆ ในบทความความนี้ก็จะมีทั้ง Internal Link และ External Link แทรกอยู่ด้วยเช่นกัน
7 Recheck & Rewrite
เมื่อเราเขียนบทความเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดก็คือการ “ตรวจสอบความถูกต้อง” ทั้งเนื้อหา ตัวสะกด หรือการปรับแต่ง SEO ในส่วนต่างๆ ว่าถูกต้อง และครบถ้วนหรือไม่ นอกจากนี้ การอ่านบทความที่เขียนซ้ำๆ จะช่วยให้เรามองเห็นมุมใหม่ๆ มีอะไรบ้างควรจะเพิ่มเข้าไปในเนื้อหา หรือปรับเกลาคำให้ดีขึ้น
8 ตั้งค่า Meta Tag
นอกจากการทำ SEO ในบทความแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำหลังจากนี้ก็คือ การตั้งค่า Meta Tag
Meta Tag คือข้อความรหัส HTML หรือคำอธิบายสำหรับหน้าเว็บไซต์หน้านั้นๆ โดยการตั้งค่า Meta Tag ข้อความจะไม่แสดงบนหน้าเว็บไซต์ แต่จะไปแสดงบน Google Search โดยสิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยคือส่วนของ Title และ Description
ข้อความ Title
การตั้งค่าข้อความ Title สิ่งสำคัญคือ ต้องมี Keyword ประกอบอยู่ด้วย โดยเราสามารถใช้หัวข้อของบทความได้เลย จำนวนคำที่เหมาะสมกับ Title จะอยู่ที่ 60 – 80 ตัวอักษร
ข้อความ Description
เป็นเหมือนคำอธิบาย ที่ช่วยขยายความให้กับ Title เพื่อบอกว่าบทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร การตั้งค่า Description จำนวนคำที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 180 – 250 ตัวอักษร
9 กำหนด URL เว็บไซต์
เป็นการตั้งค่า SEO อีกอย่างหนึ่งที่อยู่นอกเหนือบทความ เป็นส่วนที่สามารถใส่ Keyword เข้าไปได้เช่นกัน
หากคุณเขียนบทความภาษาไทย ใช้ Keyword ภาษาไทย คุณอาจจะต้องเลือกว่า ต้องการให้ URL มี Keyword และใช้ภาษาไทย หรือยอมไม่ใส่ Keyword และใช้เป็นภาษาอังกฤษ
การใช้ URL เป็นภาษาไทย เมื่อคุณ Copy URL ไปโพสต์ต่อในช่องทางต่างๆ หรือแชร์ให้กับเพื่อน URL จะมีลักษณะยาวมากๆ เหมือนกับตัวอย่างนี้
Marketing Channel
อย่าปล่อยให้บทความของคุณ รอคนอ่านอยู่ฝ่ายเดียว การนำบทความที่เขียนไปส่งต่อทางช่องทางต่างๆ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยคนอ่านสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณได้ง่าย และมากยิ่งขึ้น เมื่อเกิด Trafiic เหล่านี้ ก็จะช่วยให้บทความของคุณมีโอกาสติดอันดับ Google ได้ดียิ่งขึ้น
หากใครที่ลองเขียนบทความแล้วรู้สึกว่าตัวเอง ทำไม่ได้ คิดไม่ออก หรือเขียนเสร็จแล้วทำได้แค่บทความสั้นๆ ถือเป็นเรื่องปกติครับ เมื่อคุณศึกษาหาข้อมูลมากขึ้น มีการฝึกฝนและเขียนบ่อยครั้ง คุณก็สามารถเขียนบทความที่มีความลึก มีคุณภาพได้ แล้วเรื่องการทำ SEO จะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคุณอีกต่อไป