เทคนิคการทำเว็บไซต์
เทคนิคการทำเว็บไซต์

การทำเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ จำเป็นแค่ไหน?

ทำไมต้อง “ทำเว็บไซต์ “….คำถามนี้น่าจะเคยเกิดขึ้นกับเจ้าของธุรกิจหลายๆ คน

ในโลกยุคออนไลน์ที่เต็มไปด้วยคลังข้อมูลมากมายมหาศาล และเชื่อมต่อกันได้ทั่วโลกด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า “อินเทอร์เน็ต” ก็ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ด้วยการใช้ Social Media ซึ่งถือเป็นช่องทางที่ง่ายที่สุดในการสื่อสารกับลูกค้า ทำให้เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่เน้นสร้างตัวตนบนแพลตฟอร์มต่างๆ เต็มไปหมด แต่มีสิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับกันอย่างจริงใจว่า “โปรไฟล์บน Social Media ยังน่าเชื่อถือไม่มากพอเท่ากับการมีเว็บไซต์”

ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ? ก็เพราะยอด Like ยอด Share ต่างๆ ที่พบเห็นอยู่บนเพจ หรือร้านค้านั้น สามารถปลอมขึ้นมาได้ยังไงล่ะ! แล้วการ ทำเว็บไซต์ สำหรับธุรกิจของเรามันจำเป็นมากน้อยขนาดไหนกัน? ถ้าไม่มีได้มั้ย เพราะเคยรู้มาว่าการทำเว็บมันยุ่งยากมาก แล้วถ้าจ้างทำก็ราคาแพง ลงทุนไม่ไหว…ลองอ่านบทความนี้เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องเว็บไซต์กันก่อน จากนั้นตัวคุณเองจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าอะไรดีที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณ!

ทำไมต้องทำเว็บไซต์? เพราะเว็บไซต์สร้างความน่าเชื่อถือไง!

“33% ของผู้ใช้มักค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ของแบรนด์ที่ตนสนใจ”

“57% ของผู้ใช้จะไม่ซื้อสินค้า หรืออ่านอะไรก็ตามบนเว็บไซต์ที่แสดงผลบนมือถือได้ค่อนข้างแย่”

อ้างอิงจากข้อมูลสถิติของ – https://www.impactbnd.com/blog/mobile-marketing-statistics

สังเกตง่ายๆ ที่ตัวเราเองก่อน เวลาเราจะซื้ออะไร เราจะค้นหาข้อมูลอะไร เรามักจะทำตามขั้นตอนนี้

ต้องการรู้เกี่ยวกับธุรกิจนี้ > ค้น Google > เปิดเว็บไซต์ที่สนใจ > อ่านคอนเทนต์ > ถ้าตรงกับสิ่งที่ต้องการก็อ่านต่อ ถ้าไม่ตรงก็ปิด

หรือ

อยากรู้เกี่ยวกับสินค้านี้ > ค้น Google > เปิดเว็บไซต์รีวิวที่สนใจ > อ่านรีวิว > อ่านแล้วยังไม่เชื่อก็ไปอ่านลิงก์ใหม่ ถ้าอ่านแล้วเชื่อ หรือเห็นว่าดี ก็อาจจะซื้อสินค้า

จะเห็นว่าทุกวันนี้ ผู้ใช้ประมาณ 99.99% จะต้องเปิด Google เพื่อค้นหาข้อมูลบางอย่างก่อนเสมอ แล้วผลลัพธ์ที่ Google แสดงออกมาให้ก็คือ “เว็บไซต์”

แล้วเว็บไซต์ที่โชว์บน Google ให้ความรู้สึกอะไรกับเรา? คำตอบก็คือ “แบรนด์ชื่อนี้/สินค้านี้ มันมีตัวตนจริงๆ นะ” และถ้ามีรีวิวก็ยิ่งทำให้เชื่อเข้าไปอีกว่า แบรนด์นี้/สินค้านี้ เชื่อถือได้

การที่ลูกค้า search Google แล้วเจอเว็บไซต์ มันสร้างความน่าเชื่อถือตั้งแต่ Google ประมวลผลลิงก์จากคีย์เวิร์ดออกมาให้แล้ว พอลูกค้าเข้าไปอ่านเนื้อหา ถ้า content ดี ก็ยิ่งมีความสนใจเพิ่มขึ้น แล้วถ้าตบท้ายด้วยการอ่านรีวิว ก็ยิ่งตอกย้ำความมั่นใจในสินค้าตัวนี้ไปอีก ซึ่งอาจปิดการขายได้เลยทันทีด้วย

นอกจากการที่เว็บไซต์จะเป็นแหล่งให้ข้อมูล และตัวสร้างความน่าเชื่อถือชั้นเยี่ยมแล้ว บางธุรกิจยังใช้เว็บไซต์เป็นช่องทางการค้าได้อีกด้วย หากทำเว็บไซต์แบบ E-Commerce หรือระบบซื้อขายสินค้าออนไลน์ ที่มีบริการลงหมวดหมู่สินค้า, ระบบชำระเงิน, ระบบขนส่ง ฯลฯ ซึ่งถ้าหากมองในมุมของโอกาสในการขาย หรือขยายธุรกิจ ก็นับว่าเว็บไซต์เป็นเครื่องมือสารพัดประโยชน์เลยทีเดียว

 

ทำไมต้องทำเว็บไซต์? เพราะเว็บไซต์บ่งบอกความเป็นเราได้มากที่สุดไง!

Apple เน้นความ Minimal น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้!

Harley Davidson เน้นรูปแนวไลฟ์สไตล์ และการขับขี่ที่มีความเท่!

Uniqlo เน้นรูปผลิตภัณฑ์ และนางแบบ/นายแบบ ที่สื่อสารว่าเป็นเสื้อผ้าของคนรุ่นใหม่!

จะเห็นว่าเว็บไซต์ของแบรนด์ใหญ่ระดับโลกแทบทุกแบรนด์จะมีคาแรคเตอร์เป็นของตนเองชัดเจน และสื่อสารออกมาในแนวทางที่ตรงประเด็นที่สุด ซึ่งการ Customize นี่แหละ เป็นสิ่งที่เว็บไซต์ทำได้อย่างเหนือชั้นกว่า Social Media หรือช่องทางอื่นๆ

ไม่ปฏิเสธว่า Social เข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้มากกว่า แต่ถามว่า “แล้วเราปรับแต่งอะไรบนหน้าเพจเราอย่างที่ต้องการได้มั้ย?” ก็ทำไม่ได้ แต่สำหรับเว็บไซต์เราสามารถปรับแต่งอะไรก็ได้ตามจินตนาการ หรือรูปแบบที่เราอยากให้เป็น

ดังนั้น การทำเว็บไซต์นอกจากจะสร้างความน่าเชื่อถือแล้ว ตัวเว็บเองยังเป็นสิ่งที่บ่งบอกตัวตนของเราได้ดีที่สุด ลูกค้าที่เข้ามาจะสัมผัสได้ทันทีว่าภาพลักษณ์ของเราเป็นอย่างไร หรือ Position ของแบรนด์เราถูกวางไว้สำหรับใคร ซึ่งทั้งหมดนี้จะสื่อสารได้อย่างตรงกลุ่ม ตรงประเด็นผ่านทางการออกแบบเว็บไซต์นั่นเอง

 

มีเว็บไซต์ = ร้านเปิด 24 ชั่วโมง

การมีเว็บไซต์ธุรกิจ หรือเป็นเว็บขายสินค้าของตนเอง ก็เหมือนกับเรามีหน้าร้านที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง และแทบจะไม่มีวันปิดร้าน ลูกค้าสามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้ตลอดเวลา พร้อมทั้งซื้อสินค้าได้เองทันทีถ้าข้อมูลในเว็บไซต์คุณครบถ้วนทุกอย่างที่ลูกค้าต้องการ เราสามารถใส่รายละเอียดข้อมูลต่างๆ ประกอบกับภาพสินค้าได้เลย ให้คนที่สนใจเข้ามาศึกษาข้อมูลในเว็บไซต์ด้วยตัวเอง หากเราทำเว็บไซต์ให้ดูดี มีภาพสินค้าชัดเจน ใส่รายละเอียดครบถ้วนตอบโจทย์ลูกค้า ก็สามารถปิดการขายในเว็บไซต์ได้ทันที

นอกจากนี้ การมีเว็บไซต์ยังเหมือนมีพนักงานดีเด่นที่คอยให้บริการลูกค้าทั้งวันทั้งคืน โดยที่พนักงานคนนี้ไม่มีวันเหนื่อย ไม่มีวันพัก และขยันขันแข็งทำงานเป็นอย่างมาก ขอเพียงแค่มีลูกค้าเดินเข้ามาหา เขาก็พร้อมจะขายให้ทันที แล้วตัวคุณเองที่เป็นเจ้าของธุรกิจคิดว่าการมีหน้าร้าน และพนักงานที่พร้อมทำงานตลอดเวลา และสร้างยอดขายให้คุณได้ขนาดนี้ เป็นเรื่องดี หรือเป็นเรื่องแย่ล่ะ?

 

แล้วเว็บไซต์ที่ทำควรมีฟังก์ชันยังไง?

คำถามนี้เจ้าของธุรกิจควรต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนเลยว่า “ธุรกิจของคุณคืออะไร” และ “คุณต้องการให้เว็บไซต์เป็นอะไรสำหรับคุณ”

ถ้าคุณทำธุรกิจขายบ้าน – คงไม่มีใครบ้าทำเป็นเว็บไซต์ E-Commerce แบบ “หยิบสินค้าใส่ตะกร้า” แล้วเลือกชำระเงิน พร้อมใบเสร็จรับเงิน “บ้าน 1 หลัง + Full Furniture ราคา 3.5 ล้านบาท” ถ้าเป็นธุรกิจแนวนี้ก็ต้องเน้นการทำเว็บไซต์แบบให้ข้อมูล (Information) แล้วทำแบบฟอร์มเพื่อเก็บ Leads และติดต่อหาลูกค้าเพื่อปิดการขายอีกทีหนึ่ง เพราะบ้านไม่ได้ขายได้ด้วยตัวมันเอง แต่ต้องอาศัยการพูดคุยกับเซลล์เพิ่มเติมประกอบการตัดสินใจด้วย

ถ้าคุณทำธุรกิจขายกระเป๋า หรือเสื้อผ้า – สินค้าแฟชั่นจะขายได้หรือไม่ได้ ส่วนใหญ่อยู่ที่ดีไซน์ และความสวยงาม ซึ่งเท่ากับว่า มันขายได้ด้วยตัวมันเอง เราก็ทำเป็นเว็บ E-Commerce ให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้า พร้อมตัดสต๊อกได้ทันที โดยที่ไม่ต้องคุยแชทเพื่อ CF กันด้วย

แต่ถ้าหากคุณต้องการเว็บไซต์ในแบบที่คุณดีไซน์ไว้ โดยมีฟังก์ชันที่ต้องการ 1, 2, 3,… และรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ อีกมาก คุณอาจจะต้องสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเอง เพื่อสร้างฟังก์ชันนั้นๆ ให้ตรงตามต้องการ ซึ่งจุดนี้อยู่ที่เจ้าของธุรกิจเป็นหลัก

 

ทำเว็บไซต์…ทำยังไง?

อยาก ทำเว็บไซต์ ต้องทำยังไง…ไม่ยากครับ การทำเว็บไซต์มีให้เลือกด้วยกัน 3 ทาง คือ

  1. ทำเอง (ค่าใช้จ่าย : ต่ำ-กลาง)

ถ้าคุณมีความรู้ความสามารถด้าน Programmer หรือ Developer สามารถเขียนโค้ด, สร้างฟังก์ชัน, ออกแบบ UI/UX ฯลฯ ไม่ต้องรออะไรทั้งนั้น สร้างเว็บเองตามที่ต้องการได้เลย! แต่คุณต้องมีเวลามากพอสำหรับการสร้างนะครับ ซึ่งเวลาที่ว่านี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถ หรือสกิลของคุณเองล้วนๆ ซึ่งการทำเว็บไซต์เองจะเหมาะกับผู้ที่มีความรู้สาย IT โดยเฉพาะ

  1. จ้างทำ (ค่าใช้จ่าย : กลาง-สูง)

ถ้าคุณไม่มีสกิลด้าน Programmer หรือ Developer เลย ออกแบบก็ไม่ได้ ดีไซน์ก็ไม่เป็น เอาง่ายๆ ว่าเรื่อง IT และดีไซน์เป็นเรื่องยากสำหรับคุณ การจ้างทำน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ว่าจ้างทำกับฟรีแลนซ์ หรือใครไม่รู้ที่ดูไม่น่าเชื่อถือ เพราะคุณอาจโดนทิ้งงาน หรือทำงานห่วยได้ ถ้าหากจะจ้างทำก็ตรวจสอบความน่าเชื่อถือกันนิดนึงนะครับ และย้ำอีกอย่างว่า “ของถูกใช่ว่าจะดี ของดีใช่ว่าจะถูก”

  1. ใช้เว็บสำเร็จรูป (ค่าใช้จ่าย : ต่ำ-สูง)

เว็บไซต์สำเร็จรูป เป็นจุดกึ่งกลางระหว่าง การทำเองกับการจ้างทำ เพราะตัวเว็บสำเร็จรูปส่วนใหญ่จะมีการออกแบบ Layout มาให้แล้วว่า ควรใส่อะไรไว้ตรงไหน ที่เหลือก็แค่ให้เจ้าของมาอัปเดตข้อมูลต่างๆ ลงไป ไม่ว่าจะเป็น สินค้า, รูปภาพ, คอนเทนต์ ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการเว็บสำเร็จรูปเกือบทุกเจ้าในไทยก็มาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่ค่อนข้างครบครัน แต่ตัวเว็บสำเร็จรูปก็จะมีจุดที่ด้อยกว่าการทำเองตรงที่ฟังก์ชันบางอย่างอาจไม่มีตามที่ต้องการ ขึ้นอยู่กับว่าตัวคุณ และธุรกิจคุณต้องการใช้งานอะไรบ้าง ส่วน service ด้านอื่นๆ ก็มีให้แบบแทบจะครบวงจรด้วย

ทางเลือก 3 ทางนี้เป็นวิธีการที่คุณจะต้องเลือกในการสร้างเว็บ ลองชั่งน้ำหนักดูดีๆ ว่าวิธีไหนที่ตอบโจทย์ในด้านฟังก์ชัน, เวลาในการสร้าง และงบประมาณของคุณมากที่สุด

 

สรุป : ทำธุรกิจในปัจจุบัน ยังไงก็ควรมีเว็บไซต์!

หากใครก็ตามที่คิดจะทำธุรกิจในยุคนี้ เราบอกได้เลยว่า “เว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะต้องมี” เพราะยุคนี้เป็นยุคของโลกออนไลน์ ผู้คนต่างค้นหาข้อมูลกันก่อนอยู่แล้ว การที่คุณไม่มีเว็บไซต์ก็เท่ากับว่า ถ้ามีคนเสิร์ช Google ก็จะไม่เจอสินค้า หรือบริการของคุณ (Google ไม่ค่อยเลือกแสดงผล Facebook นะ เลือกเว็บไซต์เป็นหลัก ไม่เชื่อลองไป Search เรื่องอะไรก็ได้ดูตอนนี้เลยก็ได้) แต่มีโอกาสไปเจอคู่แข่งของคุณแทน ซึ่งคู่แข่งก็โตเอาๆ แต่คุณยังคงอยู่กับที่ ถ้าเป็นแบบนั้นก็น่าเสียดายแย่

ลองคิดภาพว่า เว็บไซต์ ก็คือบ้านหนึ่งหลังที่มีการจดทะเบียนบ้าน มีที่อยู่ชัดเจนเป็นหลักแหล่ง ปลอมแปลงได้ยาก เพราะขั้นตอนการสร้างมันเยอะกว่าการสร้างโปรไฟล์ในโซเชียล การมีเว็บไซต์จึงช่วยยืนยันตัวตนของธุรกิจคุณได้เป็นอย่างดี และเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าที่เข้ามาชม หรือค้นหาข้อมูลด้วย

ทิ้งท้ายกันตรงนี้ว่า การมีเว็บไซต์ไม่ใช่ว่าเป้าหมายหลักคือการขายได้เพียงอย่างเดียว แต่การทำเว็บไซต์ยังช่วยส่งเสริมในเรื่อง Branding และภาพลักษณ์ของธุรกิจนั้นๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของการตัดสินใจซื้อสินค้าในที่สุดนั่นเอง ดังนั้น ลองทบทวน และพิจารณากันดูนะครับว่า ธุรกิจของคุณจำเป็นต้องมีเว็บไซต์แล้วหรือยัง?